สาขาวิชา

ภาษาไทยและภาษาจีน
เพื่ออุตสาหกรรมการบริการ​

ชื่อหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อภาษาไทย :

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ

ชื่อเต็ม (ไทย) :

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ)

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Bachelor of Arts Program in  Thai and Chinese for Service Industry

ชื่อย่อ (ไทย) :

ศศ.บ. (ภาษาไทยและภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมการบริการ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :

Bachelor of Arts  (Thai and Chinese for Service Industry)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) :

B.A. (Thai and Chinese for Service Industry)

ประเภทของหลักสูตร

ปริญญาตรีทางวิชาการ

ระยะหลักสูตร

4
ปี

จำนวนหน่วยกิต

130
หน่วยกิต

ค่าเทอม/ภาคการศึกษาปกติ

20,000.-

ค่าเทอมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ​

8,000.-

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาจีน
เพื่ออุตสาหกรรมการบริการ

มุ่งสร้างบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยและภาษาจีน เพื่อการสร้างบุคลากรที่มีทักษาทางภาษาไทย และภาษาจีนในการประกอบวิชาชีพ​

อาชีพที่มุ่งหวังของหลักสูตร​


1

นักวิเทศสัมพันธ์


2

นักแปล


3

นักข่าว


4

บรรณาธิการ


5

เจ้าหน้าที่ธุรการ


ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร​

ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ทางด้านภาษาไทยและภาษาจีน อย่างมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการบริการ โดยกำหนดอัตลักษณ์ของหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยและภาษาจีน เพื่อ “การสร้างบุคลากรที่มีทักษะทางภาษาไทยและภาษาจีนในการประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมการบริการ”

วัตถุประสงค์

  • มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาจีนในอุตสาหกรรมการบริการ
  • มีทักษะในการประยุกต์ใช้ภาษาไทยและภาษาจีนในกลุ่มงานอุตสาหกรรมการบริการ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างสร้างสรรค์
  • มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมทางภาษา บูรณาการความรู้ทางด้านภาษาไทยและภาษาจีนเพื่อแก้ไขปัญหาในการประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมการบริการ
  • ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกของกลุ่ม เคารพความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม
  • มีทักษะการเรียนรู้และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร การพัฒนาวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมการบริการ การวิจัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างเหมาะสม
  • มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ