สาขาวิชา

พลศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อภาษาไทย :

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา

ชื่อเต็ม (ไทย) : 

ศิลปศาสตรบัณฑิต (พลศึกษา)

ชื่อภาษาอังกฤษ :

Bachelor of Arts Program in Physical Education

ชื่อย่อ (ไทย) : 

ศศ.บ. (พลศึกษา)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) :

Bachelor of Arts (Physical Education)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) :

B.A. (Physical Education)

ประเภทของหลักสูตร

ปริญญาตรีทางวิชาการ

ระยะหลักสูตร

4 ปี

จำนวนหน่วยกิต

124 หน่วยกิต

ค่าเทอม/ภาคการศึกษาปกติ

14,000.-

ค่าเทอมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ​

8,000.-

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาพลศึกษา

มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพพลศึกษา โดยกำหนดอัตลักษณ์ของหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตสาขาวิชาพล ศึกษา เพื่อ "การสร้างสมรรถนะทางกีฬาสู่การเป็นมืออาชีพ" เน้นผู้เรียนให้มีทักษะความรู้ด้าน การออกกำลังกายและการกีฬา มีการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการกีฬา เพื่อสร้างงานนวัตกรรมกีฬา ตลอดจนมีการทำความร่วมมือกับหน่วยงานการกีฬา และกรมพลศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร​

อาชีพที่มุ่งหวังของหลักสูตร​

นักวิชาการด้านพลศึกษาและการกีฬา​

ผู้ฝึกสอน และผู้ตัดสินกีฬา​

นักจัดการการกีฬา ผู้จัดและควบคุมการแข่งขันกีฬา​

เจ้าหน้าที่ในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกีฬา เช่น กรมพลศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย ​

เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ และนันทนาการ​

ผู้ประกอบการธุรกิจทางการกีฬา​

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร​

ปรัชญา

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ทางด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพพลศึกษาอย่างมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการกีฬา โดยกำหนดอัตลักษร์ของหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตของสาขาวิชาพลศึกษา เพื่อ “การสร้างสมรรนะ ทางกีฬาสู่การเป็นมืออาชีพ“

วัตถุประสงค์

  • ผลิตบัณฑิตให้มีสมรรถนะทางกีฬา เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติวิชาชีพที่ครอบคลุมทุกด้านสู่การเป็นมืออาชีพ
  • เน้นผู้เรียนให้มีทักษะ ความรู้ด้านการออกกำลังกายและการกีฬา ทั้งกับกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิเศษ คนพิการ และบุคคลทั่วไป
  • ส่งเสริมให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
  • ผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  • ฝึกให้บัณฑิตมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อการดำรงชีวิต และมีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมของการเปลี่ยนแปลง